วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คน ที่เป็น เพื่อน

ไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับเดียวกัน  ไม่จำเป็นต้องมีฐานะเท่าเทียมกัน
ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งหน้าที่การงานเท่าเทียมกัน
คอยเตือน ยามเพื่อนพลั ้ง
คอยฟัง ยามเพื่อนขอ
คอยรอ ยามเพื่อนสาย
คอยพาย ยามเพื่อนพัก
คอยทัก ยามเพื่อนทุกข์
คอยปลุก ยามเพื่อนท้อ
คอยง้อ ยามเพื่อนงอน
คอยสอน ยามเพื่อนผิด
คอยสะกิด ยาม เพื่อนเผลอ
คอยเจอ ยามเพื่อนหา
คอยลา ยามเพื่อนกลับ
คอยปรับ ยามเพื่อนเปลี่ยน
คอยเรียน ยามเพื่อนเที่ยว
คอยเคี่ยว ยามเพื่อนเล่น
คอยเย็น ยามเพื่อนร้อน
คอยหอน ยามเพื่อนเห่า
คอยเฝ้า ยามเพื่อนฟุบ
คอยอุบ ยามเพื่อนปิด
คอยคิด ยามเพื่อนถาม
คอยปราม ยามเพื่อนหลง
คอยปลง ยามเพื่อนแกล้ง
คอยแบ่ง ยามเพื่อนหมด
คอยอด ยามเพื่อนทาน
คอยคาน ยามเพื่อนล้ม
คอยชม ยามเพื่อนชนะ
คอยสละ ยามเพื่อนชอบ
ส่งให้คนที่คุณคิดว่าเค้าเป็น... ' เพื่อน ' และอย่าลืมส่งกลับให้กับ ' เพื่อน ' คนที่ส่งมาให้คุณ เพื่อนที่
รักเราหาไม่ง่ายเลย ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนมีแล้ว จงรักษามันไว้ให้ดีดี รักกันไว้ให้มาก ๆ ไม ่มีอีกแล้วถ้า
เราจะเสียเพื่อนที่ดีไปเพราะแค่เหตุผลเดียวคือความโง่ ......โง่ของตัวเอง ......นะจะบอกให้

โคเลสเตอรอลคืออะไร ?

นิตยสาร "สรรสาระ Reader's Digest" ฉบับ 01/10 ตีพิมพ์เรื่อง "ไขมันชนิดดี" เพิ่มขึ้นได้ด้วยอาหาร ผู้เขียนอ่านแล้วได้ไอเดีย (idea = ข้อคิด) มาเล่าสู่กันฟังพร้อมกับนำคำแนะนำจากสถาบันเมโยคลินิก สหรัฐฯ มาเล่าสู่กันฟังครับ
ภาพที่ 1: โคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดมาจากไหน
คำตอบ คือ ส่วนใหญ่ประมาณ 80% สร้างขึ้นที่ตับ (สร้างในร่างกาย), 20% มาจากอาหารทำจากสัตว์ อาหารจากพืชไม่มีโคเลสเตอรอล
คนที่ไม่กิน เนื้อสัตว์เลย เช่น กินแบบมังสวิรัติ ฯลฯ (พบมากในอินเดีย) ก็มีโคเลสเตอรอลสูงได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ (80%) สร้างขึ้นที่ตับ ซึ่งจะสร้างมากน้อยเท่าไรขึ้นกับพันธุกรรม และการได้รับปริมาณไขมันอิ่มตัว-ไขมันทรานส์ (ได้มากสร้างโคเลสเตอรอลชนิดเลวมาก ได้น้อยสร้างน้อย)
โค เลสอตอรอลขนาดพอดีๆ มีประโยชน์ คือ ใช้สร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนควบคุมระดับเกลือแร่ในร่างกาย ฯลฯ และใช้สร้างส่วนประกอบในเซลล์ โดยเฉพาะผนังเซลล์-เยื่อหุ้มส่วนย่อยภายในเซลล์
ภาพที่ 2: โคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดมีกี่ประเภท
โคเลสเตอรอลรวมมิตร หรือกลุ่มโคเลสเตอรอล (total cholesterol) แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่มได้แก่


(1). ชนิด ดี (HDL) > ช่วยเก็บขยะคราบไขโคเลสเตอรอลจากผนังหลอดเลือด กลับไปที่ตับ ขับออกทางน้ำดี เข้าสู่ลำไส้ ส่วนหนึ่งจะถูกขับออกทางอุจจาระ สัดส่วนการขับโคเลสเตอรอลออกแปรตามปริมาณเส้นใย หรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ คือ ยิ่งมีเส้นใยช่วยจับโคเลสเตอรอลมาก ยิ่งขับออกมาก-ดูดซับกลับไปใหม่น้อย, ถ้ากินเส้นใยน้อย จะขับออกน้อย-ดูดซับกลับไปใหม่มาก
(2). ชนิดร้าย (LDL) > นำคราบไขโคเลสเตอรอลจากตับไปทิ้งไว้ตามผนังหลอดเลือด
(3). ผู้ช่วยฝ่ายร้าย (triglycerides / ไตรกลีเซอไรด์) > ทำให้โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) มีอายุสั้นลง (ผลคือ ลดระดับลง), และทำให้โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) มีขนาดเล็กลง แทรกซึมผ่านผนังหลอดเลือดไปสะสมเป็นคราบไขที่ผนังหลอดเลือดได้เร็วขึ้น
ชีวิตของโคเลสเตอรอลก็คล้ายกับชีวิตจริงที่ว่า ฝ่ายดีมักจะโดดเดี่ยว ฝ่ายร้ายมักจะมีผู้ช่วย, ไม่มีใครรู้ว่า ทำไมโลกเราเป็นแบบนี้ เพราะฉะนั้นถึงตรงนี้ขอให้ใช้ยา "ทำใจ" ไปก่อน


ภาพที่ 3: โคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดแต่ละชนิดต่างกันตรงไหน
โคเลสเตอรอลเป็นสารประกอบไลโพโพรตีน (lipoprotein; lipo = lipid = ไขมัน; protein = โปรตีน) แต่ละชนิดมีสัดส่วนโปรตีน (สีเขียว) และโคเลสเตอรอลหรือคราบไข (สีเหลือง) ไม่เท่ากัน
ธรรมดาของ เนื้อ (โปรตีน) จะหนักกว่าไข (โคเลสเตอรอล), โคเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (หนักหน่อย) หรือชนิดดี (HDL) มีสัดส่วนโปรตีนมาก, ส่วนโคเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (เบาหน่อย) มีสัดส่วนโคเลสเตอรอลมาก ส่วนไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมัน เวลานำเลือดมาทิ้งไว้นานๆ หรือปั่นแยก จะพบไขมันไตรกลีเซอไรด์ลอยขาวขุ่นแยกชั้นออกมาคล้ายๆ กับขนมหน้ากะทิ


ภาพที่ 4: ไขมันอิ่มตัวพบมากในอะไร
ไขมันอิ่มตัวพบมากในกะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันสัตว์ (เช่น น้ำมันหมู ฯลฯ), เครื่องใน อาหารจากสัตว์และนมไขมันเต็ม แม้แต่เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น แพะ แกะ หมู วัว ฯลฯ ก็มีไขมันอิ่มตัวแฝงอยู่ การกินเนื้อมากๆ จะทำให้ได้รับไขมันอิ่มตัวสูงเช่นกัน
ไขมันอิ่มตัวทำให้ตับสร้างโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) เพิ่มขึ้น และที่กว่าไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันทรานส์ (trans fat) ซึ่งมีมากในเนยขาว เบเกอรี่ ขนมกรุบกรอบ ฟาสต์ฟูด อาหารสำเร็จรูป เนยเทียม คอฟฟี่เมต ไขมันทรานส์เพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ด้วย และทำให้โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำลงด้วย


ภาพที่ 5: อาหารแบบไหนที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ-โคเลสเตอรอลต่ำ
อาหาร ที่ช่วยให้โคเลสเตอรอลเปลี่ยนไปในทางที่ดี คือ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว-ไขมันทรานส์ต่ำ และมีโคเลสเตอรอลต่ำได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี (เช่น ขนมปังโฮลวีท ข้าวกล้อง ฯลฯ), ปลา, สัตว์ปีกนำหนังออก, ผัก, ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกากทิ้ง)


ภาพที่ 6: ตัวอย่างโคเลสเตอรอลในอาหาร
เครื่องใน เช่น ตับ (beef liver = ตับวัว) ฯลฯ มีโคเลสเตอรอลสูง, ไข่มีโคเลสเตอรอลค่อนไปทางสูง (213 มก.จากขีดจำกัด 250 มก.ต่อวัน) ทว่า... มีสารช่วยลดโคเลสเตอรอล เช่น โคลีน ฯลฯ
การกินไข่ วัน ละฟองในคนที่มีสุขภาพดีส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) ไม่ได้ทำให้โคเลสเตอรอลเพิ่ม, คนอีกประมาณ 20% อาจไม่เหมาะกับการกินไข่วันละฟอง (กินไข่แดง 1/2 ฟองต่อวันได้ ไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอล)
วิธีสังเกตอาจต้อง ลองกิน แล้วเจาะเลือดเปรียบเทียบกับช่วงไม่กิน, เลือกทางสายกลาง คือ 2-3 ฟองต่อสัปดาห์, ถ้ามีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ ควรปรึกษาหมอใกล้บ้าน
เนื้อหรือสัตว์ ปีก (beef = เนื้อวัว, chicken = ไก่) มีโคเลสเตอรอลค่อนไปทางต่ำ ทว่า... เนื้อมีไขมันอิ่มตัวสูง ทางเลือกที่ดี คือ กินเนื้อให้น้อยลง กินสัตว์ปีกที่นำหนังออก ปลาแทน และที่ดีมาก คือ ลดเนื้อลงครึ่งหนึ่ง กินโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว โปรตีนเกษตร เต้าหู้ นัท (nut เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ) ฯลฯ แทนนมไขมันเต็ม (whole milk) มีโคเลสเตอรอลสูงกว่านมไม่มีไขมัน (skim milk) มาก, การดื่มนมไขมันต่ำหรือไม่มีไขมันพร้อมอาหารแทนนมไขมันเต็มช่วยลดโคเลสเตอรอล และลดไขมันอิ่มตัวได้มาก


ภาพที่ 7: การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำช่วยให้โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เพิ่มได้มาก
ส่วนจะได้ผลมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับพันธุกรรม ความหนักและความนานของการออกแรง-ออกกำลัง ซึ่งโดยทั่วไปการออกแรง-ออกกำลังหนักในเวลาสั้นๆ มีแนวโน้มจะได้ผลมากกว่าแบบเบาๆ นานๆ
วิธีที่ทำได้ง่ายในคนส่วนใหญ่ คือ เดินให้เร็วขึ้น-แกว่งแขนให้เร็วขึ้นจนพูดได้ 3-5 คำก็เหนื่อย (brisk walking) นาน 30 นาที 5 ครั้ง/สัปดาห์ เสริมด้วยการขึ้นลงบันได 7 นาที/วัน
นิตยสารสรรสาระกล่าวว่า การเพิ่ม HDL หรือโคเลสเตอรอลชนิดดีขึ้น 1 หน่วย ลดเสี่ยงโรคหัวใจ 2-3%, อาหารเพิ่ม HDL ได้แก่


(1). ช็อคโกแล็ตสีเข้ม 15 กรัม/วัน
วิธีที่ดี คือ ซื้อโกโก้สีเข้มมาชงกับนมไขมันต่ำ หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมเตรียมไว้ ออกแรง-ออกกำลังก่อน พักสักครู่ แล้วดื่มภายใน 30 นาทีหลังออกกำลัง โปรตีนจากนมจะเข้าไปช่วยซ่อมแซม และเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ส่วนโกโก้จะช่วยเพิ่ม HDL
(2). แซลมอน
แซลมอน (ดีที่สุด คือ ไม่ผ่านการทอด) 120 กรัม (ประมาณ 1.5 ฝ่ามือผู้ใหญ่ผู้หญิง ไม่รวมนิ้วมือ หรือเนื้อปลาในปลากระป๋องขนาดกลาง), 2 ครั้ง/สัปดาห์ ปลาทะเลอื่นๆ ก็ใช้ได้เช่นกัน
(3). เบอร์รี
ขนาด 1 ถ้วยตวง (240 มิลลิลิตร)/วัน 8 สัปดาห์ เพิ่ม HDL ได้ 5%, เมืองไทยมีผลไม้กลุ่มนี้น้อย คือ มีแต่สตรอเบอรี กับมาลเบอรี (ผลลูกหม่อน)
(4). ไข่
การศึกษาวิจัยจากไทยพบ ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี และกินไข่ 1 ฟอง/วัน 12 สัปดาห์ มีระดับ HDL เพิ่ม 48% สถาบันเมโย คลินิก สหรัฐฯ แนะนำวิธีเพิ่ม HDL ไว้ดังต่อไปนี้


(1). ไม่สูบบุหรี่ + ไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป บุหรี่ทำลาย HDL > การเลิกบุหรี่เพิ่ม HDL ได้ 10%
(2). รักษาน้ำหนัก
คนที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน > การลดน้ำหนัก 6 ปอนด์หรือ 2.72 กก. เพิ่ม HDL ได้ 1 มก./ดล. (หน่วยมิลลิกรัมต่อ 1 เดซิลิตร หรือ 1/10 ลิตร)
(3). ออกแรง-ออกกำลัง
คนที่นั่งๆ นอนๆ (sedentary) ทั้งวัน > ออกกำลังแรงปานกลางขึ้นไป (เดินเร็ว 30 นาที/วัน 5 วัน/สัปดาห์ขึ้นไป) หรือออกกำลังรูปแบบอื่นๆ ให้หนักหน่อย รวมเวลาให้ได้เกิน 120 นาที/สัปดาห์ เพิ่ม HDL 5%
(4). เลือกน้ำมันและไขมันชนิดดี
ลดไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เลือกน้ำมันชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง เช่น น้ำมันมะกอก คาโนลา รำข้าว ถั่วลิสง เมล็ดชา ฯลฯ (เฉพาะน้ำมันมะกอก ไม่ควรใช้ทอด ที่เหลือใช้ทอดได้ดีมาก) กินอาหารที่มีโอเมกา-3 สูง เช่น ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด น้ำมันปลา แฟลกซีด (เมล็ดปอป่าน), อาหารทะเล นัท (nuts เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ), ถั่ว ฯลฯ ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


ที่มา
Mayo Clinic > High cholesterol. July 24, 2010.
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิง